ชลประทาน รับมือเขื่อนอุบลรัตน์ เต็มความจุ เฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด

Exclusive ข่าวสารบ้านเฮา เมืองกาฬสินธุ์ เมืองขอนแก่น เมืองมหาสารคาม เมืองยโสธร เมืองร้อยเอ็ด

กรมชลประทาน รับมือระดับน้ำในลำน้ำพองและแม่น้ำชี ด้านท้ายเขื่อนอุบลรัตน์ มีแนวโน้มสูงขึ้น กอนช. ประกาศเฝ้าระวังระดับน้ำแม่น้ำชี เนื่องจากเขื่อนอุบลรัตน์ เกินความจุ 122% เตือน 5 จังหวัดด้านท้าย เตรียมรับน้ำท่วมสูงอีก

ตามที่ กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) ออกประกาศฉบับที่ 48/2565 เรื่อง เฝ้าระวังระดับน้ำแม่น้ำชี โดยระบุว่ากอนช. ติดตามปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนอุบลรัตน์อย่างต่อเนื่องเมื่อวันที่ 6 ต.ค. 65 มีปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนอุบลรัตน์ ประมาณ 170 ล้านลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) ซึ่งสามารถระบายออกได้เพียงวันละ 41 ล้าน

ลบ.ม. ส่งผลให้ระดับน้ำเขื่อนอุบลรัตน์ เพิ่มจนเกินระดับเก็บกักสูงสุดและยังคงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ที่ระดับน้ำ + 183.35 เมตร จากระดับทะเลปานกลาง (ม.รทก) สูงกว่าระดับเก็บกักปกติ 1.15 เมตร

 

ชลประทาน รับมือเขื่อนอุบลรัตน์ เต็มความจุ เฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดชลประทาน รับมือเขื่อนอุบลรัตน์ เต็มความจุ เฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด

 

ปัจจุบัน (7 ต.ค. 65) ปริมาตรน้ำ 2,969 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 122 มีปริมาตรเกินความจุ 581 ล้าน ลบ.ม. และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ได้มีหนังสือถึงกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ แจ้งเตือนระดับน้ำเขื่อนอุบลรัตน์เข้าสู่สภาวะวิกฤต ระดับ 3 คาดการณ์ว่าระดับน้ำจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจนถึงระดับวิกฤตหรือสูงกว่าคันดินโนนสัง ซึ่งเป็นคันดินป้องกันชุมชนที่อาศัยอยู่บริเวณรอบเขื่อนอุบลรัตน์ ดังนี้

 

🚨ระดับน้ำจะสูงถึงระดับเตือนภัย (+183.50 ม.รทก.)

ในวันที่ 7 ต.ค. 65 และสูงถึงระดับวิกฤต (+184.00 ม.รทก.) ในวันที่ 8 ต.ค. 65 เพื่อเป็นการควบคุมปริมาณน้ำในเขื่อนอุบลรัตน์ให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมเพื่อรักษาเสถียรภาพความมั่นคงของตัวเขื่อน

 

การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย จำเป็นต้องปรับเพิ่มการระบายน้ำ ตั้งแต่วันนี้ (7 ต.ค. 65)

จะทำให้พื้นที่ท้ายเขื่อนอุบลรัตน์มีระดับน้ำสูงขึ้น และอาจกระทบต่อพื้นที่ลุ่มต่ำบริเวณ อ.อุบลรัตน์

เขาสวนกวาง ซำสูง น้ำพอง และเมืองขอนแก่น จ.ขอนแก่น บริเวณพื้นที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำที่ได้รับผลกระทบ จากน้ำท่วมในปัจจุบันจะมีระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นอีก และเฝ้าระวังพนังกั้นน้ำริมแม่น้ำชี

 

🚨ตั้งแต่ จ.ขอนแก่น มหาสารคาม กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด และยโสธร

ดังนั้น เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์ที่อาจมีผลกระทบ กรมชลประทาน ได้เน้นย้ำให้โครงการชลประทานในพื้นที่และสำนักเครื่องจักรกล ติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด ตรวจสอบความมั่นคงอาคารป้องกันริมแม่น้ำและเสริมคัน บริเวณจุดเสี่ยงที่เป็นพื้นที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำ

พร้อมทั้งตรวจสอบ ซ่อมแซม คันกั้นน้ำบริเวณริมแม่น้ำ ให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน เตรียมเครื่องจักร เครื่องมือ เพื่อบูรณาการความพร้อมให้ความช่วยเหลือและบรรเทาผลกระทบต่อประชาชนได้ทันที รวมทั้งปรับแผนบริหารจัดการน้ำ อ่างเก็บน้ำ เขื่อนระบายน้ำ เพื่อบริหารจัดการน้ำให้สอดคล้องกับสถานการณ์

สำหรับเขื่อนอุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น บริหารจัดการน้ำโดยใช้ระบบชลประทานในการหน่วงน้ำจากเขื่อนต่าง ๆ ที่ไหลลงมาสมทบแม่น้ำชีและแม่น้ำมูลให้ได้มากที่สุดตามศักยภาพในแต่ละช่วงเวลาที่สามารถรองรับได้

ส่วนพื้นที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำชีด้านท้ายเขื่อนอุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น ให้เตรียมป้องกันระดับน้ำเอ่อล้นเข้าท่วมพื้นที่ พร้อมทั้งบริหารจัดการน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และอ่างเก็บน้ำขนาดกลางให้อยู่ในเกณฑ์ควบคุม

พร้อมทั้งปรับการระบายน้ำให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์ตลอดจนทำการประชาสัมพันธ์ สร้างการรับรู้ และเข้าใจถึงสถานการณ์น้ำและแนวทางในการบริหารจัดการน้ำให้ประชาชนรับทราบอย่างต่อเนื่อง

แหล่งข่าว https://www.bangkokbiznews.com/business/economic/1031274